ปรับปรุงล่าสุด 19 พ.ย. 2024 03:47:04 403

กองคลัง – ข้อมูลสำหรับประชาชน

     กองคลัง มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและทะเบียนรับ – จ่ายเงินงบประเภท งานเกี่ยวกับการเงิน การเบิกจ่ายเงินการ เก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน การฝากเงิน การตรวจเงิน อบต. รวบรวมสถิติ เงินได้ประเภทต่าง ๆ การเบิกตัดปี การขยายเวลาเบิก จ่ายงบประมาณ การหักภาษี และนำส่ง รายการเงินคงเหลือประจำ การรับและจ่ายขาดเงินสะสมของ อบต. การยืมเงินทดรอง ราชการ การจัดหาผลประโยชน์จากสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สิน ตรวจสอบงานของจังหวัดและสำนักงานตรวจ เงินแผ่นดิน การเร่งรัดใบสำคัญและใบเงินยืมค้างชำระ การจัดเก็บภาษี การประเมินภาษี การเร่งรัดจัดเก็บรายได้ การพัฒนารายได้ การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง และที่ได้รับมอบหมาย แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 งาน คือ

งานการเงิน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานรับเงิน - เบิกจ่ายเงิน
- งานจัดทำฎีกาเบิกจ่ายเงิน
- งานเก็บรักษาเงิน

งานบัญชี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานการบัญชี
- งานทะเบียนคุมการเบิกจ่าย
- งานงบการเงินและงบทดลอง
- งานงบแสดงฐานะทางการเงิน

งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานภาษีอากร ค่าธรรมเนียมและค่าเช่า
- งานพัฒนารายได้
- งานควบคุมกิจการค้าและค่าปรับ
- งานทะเบียนเบิกควบคุมและเร่งรัดรายได้
- แผนที่ภาษี

งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานทะเบียนทรัพย์สิน
- งานพัสดุ
- งานทะเบียนเบิกจ่ายวัสดุครุภัณฑ์และยานพาหนะ

กองคลัง - คู่มือ อบต.

     กองคลัง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจ่าย การรับ การนำส่งเงิน การเก็บรักษาเงิน และเอกสารทางการเงิน การตรวจสอบใบสำคัญ ฎีกา งานเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เงินบำเหน็จ เงินบำนาญ เงินอื่นๆ งานเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณฐานะทางการเงิน การจัดสรรเงินต่างๆ การจัดทำบัญชีทุกประเภททะเบียนคุมรายได้ และรายจ่ายต่างๆ การควบคุมการ งานทำงบทดลองประจำเดือน ประจำปี งานเกี่ยวกับการพัสดุของอบต.นาคำ งานสถิติการคลังงานพัฒนารายได้ งานผลประโยชน์และกิจการพาณิชย์ งานแผนที่ภาษี และทะเบียนทรัพย์สิน
กำหนดการยื่นแบบชำระภาษี
1. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยื่นแบบระหว่าง เดือนเมษายนของทุกปี
2. ภาษีป้าย ยื่นแบบระหว่าง เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี

ขั้นตอนการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
1.การสำรวจรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
       วิธีการสำรวจรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
1.    วัดขนาดของที่ดิน (ตร.ว.)
2.    วัดขนาดของสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่บนที่ดิน (ตร.ม.)
3.    สำรวจประเภท ลักษณะ และอายุของสิ่งปลูกสร้าง (ตึก,ครึ่งตึกครึ่งไม้,ไม้)

2.การจัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
            2.1 ปิดประกาศเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน
    2.2 ต้องแสดงประเภท จำนวน ขนาดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
    2.3 ส่งข้อมูลให้ผู้เสียภาษีแต่ละราย

3.การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
       3.1 กรมธนารักษ์หรือสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ส่งราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด ให้ อปท. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คณะอนุกรรมการประจำจังหวัดประกาศใช้ราคาประเมิน
    3.2 อปท.ประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ และประกาศอัตราภาษี ก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ของปี
    3.3 นำราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง หรือห้องชุด คูณด้วยอัตราภาษีตามการใช้ประโยชน์ ผลลัพธ์ที่ได้เป็นจำนวนภาษีที่ต้องเสีย
    3.4 อปท. แจ้งการประเมิน โดยส่งแบบประเมินให้ผู้เสียภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์

4.การชำระภาษี
    4.1 ผู้เสียภาษีชำระภาษีภายในเดือนเมษายน ณ ที่ทำการ หรือสำนักงานของ อปท. หรือโดยวิธีอื่น เช่น ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ  หรือชำระผ่านทางธนาคาร
    4.2 ผู้เสียภาษีอาจขอผ่อนชำระภาษีเป็นงวดๆ งวดละเท่าๆ กันได้    
    4.3 กรณี อปท. ประเมินภาษีผิดพลาด มีอำนาจทบทวนการประเมินได้

การยื่นแบบภาษีป้าย
รวมระยะเวลาการให้บริการ (ขึ้นอยู่กับเอกสารที่เตรียมมา) 5 นาที
ขั้นตอนการให้บริการ
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) พร้อมเอกสารประกอบ
2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร
3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายชำระเงินและรับใบเสร็จรับเงิน (ภ.ป.7)
เอกสารประกอบการพิจารณา
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาบัตรประชาชน
2. ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีป้ายปีที่ผ่านมา (ภ.ป.7)
3. เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับป้าย
4. ขนาดของป้าย
5. สำเนาทะเบียนบ้าน
6. สำเนาโฉนดที่ดิน